วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ส่วนประกอบของโปรแกรมแฟลช (FlashCS3)


---------------------------------------------------------------------------------

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.บอกส่วนประกอบของหน้าต่างโปรแกรมแฟลชได้
2.บอกความหมายของแต่ละส่วนของหน้าต่างโปรแกรมแฟลชได้

---------------------------------------------------------------------------------

หน้าต่างโปรแกรมแฟลช



1. Menu Bar (เมนูบาร์) ซึ่งประกอบด้วยเมนูหลายอย่างที่จำเป็นในการสั่งงาน เช่น เมนู Window มีสำหรับแสดง และ ซ่อน เครื่องมือทุกชนิด หน้าต่างเครื่องมือที่หายไปเราสามารถมาสั่งเรียกเปิดที่นี่


2. Time Line (ไทม์ไลน์) มีไว้สำหรับควบคุมและกำหนดการนำเสนอผลงาน การเคลื่อนไหวต่างๆ โดยจะประกอบ ด้วยเฟรม (frame) ซึ่งจะสามารถบรรจุสิ่งต่างๆไม่ว่าจะเป็น ภาพ เสียง และอื่นๆ ลงไปเพื่อให้ในช่วง เวลานั้นประกอบด้วยอะไรบ้างที่ต้องการแสดงผล เวลาสร้างงานเราจะทำการ
คำสั่งในเมนูต่างๆที่สำคัญและใช้อยู่บ่อยๆมีดังนี้
- เมนู File
- เมนู Edit
- เมนู Modify
- เมนู Window

3. Layer (เลเยอร์) คือชั้นๆต่างๆที่จะทำให้เราทำงานเป็นระบบมากขึ้น เราสามารถแยกวัตถุต่างๆ ออกจากกันให้เป็นอิสระในการแสดงผลได้ ซึ่งทำให้สะดวกและง่ายต่อการทำงาน โดยที่เลเยอร์วัตถุที่อยู่ ด้านบนนั้นจะทับวัตถุเลเยอร์ด้านล่าง หากต้องการสลับบน-ล่าง ก็เพียงให้เราคลิกค้างไว้ที่แถบเลเยอร์ แล้วลากขึ้นหรือลง



นอกจากนั้นแล้วในการทำงานกับเลเยอร์ที่ดีควรจะทำการตั้งชื่อของเลเยอร์นั้นๆไว้เพื่อให้เราสามารถกลับ
มาแก้ไขสิ่งต่างๆในเลเยอร์นั้นได้ง่ายและสะดวก ไม่เช่นนั้นแล้วหากทำงานที่ต้องมีเลเยอร์มากๆ เราจะต้องหาจนปวดหัว และการตั้งชื่อเลเยอร์ก็ควรจะสื่อกับวัตถุหรืองานต่างๆที่อยู่ในเลเยอร์นั้น เช่น เลเยอร์นั้นเป็นส่วนของพื้นหลัง เราก็ควรจะตั้งชื่อว่า background หรือ bg เป็นต้น

4. Tool Bar แถบเครื่องมือ กลุ่มเครื่องมือสร้างงานและจัดการวัตถุ ประกอบด้วยปุ่มเครื่องมือย่อยต่างๆ โดยแบ่งเครื่องมือเป็นหมวดๆ ได้ 5 กลุ่ม 
   - เครื่องมือเลือกวัตถุ (Selection) 
   - เครื่องมือวาดภาพ (Drawing) 
   - เครื่องมือจัดแต่งวัตถุ (Modify)
   - เครื่องมือควบคุมมุมมอง (View) 
   - เครื่องมือควบคุมสี (Color)
5. Panel (พาเนล) หน้าต่างที่ทำหน้าที่แสดง พาเนลย่อย ของโปรแกรม โดยในแต่ละ พาเนลย่อย ก็จะ ประกอบด้วยรายละอียดของการควบคุมการแสดงการปรับแต่งไว้ในตัว เช่น swatches ก็จะมีสีต่างๆ มากมายให้เลือกใช้ในการปรับแต่งสี
   

6. Stage (สเตจ) คือพื้นที่ที่เรากำหนดขอบเขตขนาดของการทำงาน ซึ่งเราสามารถตั้งค่าหรือปรับได้ที่ Properties โดยกดที่ปุ่มที่มีค่า 550x400 จะได้หน้าต่างขึ้นมา



ในหน้าต่างนี้เราสามารถตั้งชื่อของงาน ระบุเนื้อหารายละเอียด ความกว้างและสูง สีพื้นหลัง frame rate ได้ตามความเหมาะสมกับงาน โดยก่อนเริ่มทำงานควรจะวางแผนในการกำหนดขนาดไว้ก่อนจะดี เพราะหากมาแก้ไขขนาดภายหลังจะทำให้ยุ่งยากในการปรับตำแหน่งของวัตถุต่าง

7. Properties ไว้สำหรับกำหนดคุณสมบัติให้กับพื้นที่การทำงานและสิ่งต่างๆที่เราจะใช้งาน หากว่าเราต้องการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไขวัตถุไหนก็นำเมาส์ไปคลิกที่วัตถุนั้น ค่าที่ส่วน Propertiesก็ จะเปลี่ยนแปลงไป ตามวัตถุนั้น เช่น คลิกที่ตัวอักษร ก็จะสามารถเปลี่ยนเรื่องฟ้อนท์ , สี . ขนาด และอื่นๆ





--------------------------------------------------------------------------------
Cr: http://www.istylebox.com/flash%20tut/basic%20program.html
--------------------------------------------------------------------------------


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น